15°C New York
January 22, 2025
สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีสถานีอะไรบ้าง เช็กให้ชัวร์ก่อนใช้บริการ
ท่องเที่ยว ธุรกิจ บทความ ประชาสัมพันธ์

สถานีรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีสถานีอะไรบ้าง เช็กให้ชัวร์ก่อนใช้บริการ

เปิดให้บริการ รถไฟฟ้าสายสีชมพูทดลองวิ่งกันไปแล้ว เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนสามารถทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีชมพูนั่งฟรี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 พ.ย. – 17 ธ.ค.2566 นี้ ก่อนที่จะให้บริการโดยมีค่าโดยสารตามปกติ ลองเช็กดูกันหน่อยดีกว่า รถไฟฟ้าสายสีชมพู เส้นทาง สถานี สถานที่ใกล้เคียงแต่ละสถานี และมีจุดเชื่อมต่อที่สถานีใดบ้าง จะได้ไม่งงค่ะ 

รถไฟฟ้าสายสีชมพูเปิดกี่สถานี 

รวมสถานีทั้งหมดที่ให้บริการโดยรถไฟฟ้าสายสีชมพู 30 สถานี ด้วยกัน 

รถไฟฟ้าสายสีชมพูใกล้สถานที่สำคัญอะไรบ้าง 

สำหรับสถานที่ใกล้เคียงกับรถไฟฟ้าสายสีชมพู ทั้ง 30 สถานี มีดังนี้ 

  1. PK01 สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี : วัดบัวขวัญ ศาลจังหวัดนนทบุรี ศาลแขวงนนทบุรี ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดนนทบุรี ศาลแรงงานกลาง (นนทบุรี) ศาลากลางเก่า วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีจังหวัดนนทบุรี กระทรวงสาธารณสุข ห้างเอสพลานาด เกาะเกร็ด โรงแรมไมด้า 
  1. PK02  สถานีแคราย : สถานทรวงอก 
  1. PK03 สถานีสนามบินน้ำ : ถนนติวานนท์ใกล้กับสามแยกสนามบินน้ำ 
  1. PK04 สถานีสามัคคี 
  1. PK05 สถานีกรมชลประทาน 
  1. PK06 สถานีแยกปากเกร็ด 
  1. PK07 สถานีเลี่ยงเมืองปากเกร็ด : บิ๊กซี แจ้งวัฒนะ 2 , โฮมโปร แจ้งวัฒนะ 
  1. PK08 สถานีปากเกร็ด – แจ้งวัฒนะ 28 : อาคารซอฟต์แวร์พาร์ค , สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ , กองดุริยางค์ตำรวจ , เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ 
  1. PK09 สถานีศรีรัช : หมู่บ้านเมืองทองธานี 
  1. PK10 สถานีเมืองทองธานี : สำนักงานซ่อมบำรุงกรมทางหลวง – ห้างแม็คโครซูเปอร์สโตร์ สาขาแจ้งวัฒนะ 
  1. PK11 สถานีแจ้งวัฒนะ 14 : บิ๊กซี แจ้งวัฒนะ 1 
  1. PK12 สถานีศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ : ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 , กรมการกงสุล , กระทรวงการต่างประเทศ , ศาลปกครองสูงสุด , สำนักงาน กสทช. ภาค 1 
  1. PK13 สถานีโทรคมนาคมแห่งชาติ : บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) , อาคาร ณ นคร , บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ศูนย์ไปรษณีย์ด่วนพิเศษกรุงเทพ) 
  1. PK14 สถานีหลักสี่ : โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ , ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ , วัดหลักสี่ , โรงเรียนวัดหลักสี่ , ศูนย์การค้าไอที สแควร์ 
  1. PK15 สถานีราชภัฎพระนคร : มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร 
  1. PK16 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ : วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร . สถานีตำรวจนครบาลบางเขน , ที่ทำการไปรษณีย์รามอินทรา , มหาวิทยาลัยเกริก , สวนรักษ์ธรรมชาติ 
  1. PK17 สถานีรามอินทรา 3 : ศูนย์พัฒนากิฬากองทัพบกและสนามมวยลุมพินี , โครงการลุมพินี รามอินทรา – หลักสี่ , เซ็นทรัล รามอินทรา 
  1. PK18 สถานีลาดปลาเค้า : บิ๊กซีเอ็กซ์ตร้า รามอินทรา 
  1. PK19 สถานีรามอินทรา กม.4 
  1. PK20 สถานีมัยลาภ 
  1. PK21 สถานีวัชรพล : ตลาดนัดเลียบด่วนรามอินทรา 
  1. PK22 สถานีรามอินทรา กม 6 
  1. PK23 สถานีคู้บอน 
  1. PK24 สถานีรามอินทรา กม.9 : โรงพยาบาลสินแพทย์ 
  1. PK25 สถานีวงแหวนรามอินทรา : สถานีตำรวจทางหลวง 2 กองกำกับการ 8 , ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ และ The Promenade , สนามกอล์ฟปัญญาอินทรา 
  1. PK26 สถานีนพรัตน์ : โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี , อมอรินี่ รามอินทรา 
  1. PK27 สถานีบางชัน 
  1. PK28 สถานีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ : โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ
  1. PK29 สถานีตลาดมีนบุรี : ตลาดมีนบุรี , ตลาดจตุจักร 2 มีนบุรี 
  1. PK30 สถานีมีนบุรี : ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีชมพู , จุดจอดรถแล้วจร (Park and Ride) , เคหะรามคำแหง , บิ๊กซี ร่มเกล้า , ไทวัสดุ สุขาภิบาล 3 

รถไฟฟ้าสายสีชมพูเชื่อมต่อที่ไหนบ้าง 

สามารถเปลี่ยนการเดินทางจากรถไฟฟ้าสายสีชมพู ไปยังรถไฟฟ้าสายอื่นได้อีก 3 สาย ได้แก่ 

  • สายสีม่วง : (PK01) บางใหญ่ – บางซื่อ 
  • สายสีแดง :  (PK14) บางซื่อ – รังสิต 
  • สายสีเขียว : (PK16) หมอชิต – สะพานใหม่ – คูคต

ส่วนขยายเชื่อมต่อ “อิมแพ็ค เมืองทองธานี” 

นอกจากนี้รถไฟฟ้าสายสีชมพูยังมีสถานีส่วนขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี โดยเชื่อมต่อที่ PK10 สถานี เมืองทองธานี ซึ่งมีสถานีรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย อีก 2 สถานี โดยมีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ได้แก่ 

  • MTO1 สถานีอิมแพ็ค เมืองทองธานี 
  • MTO2 สถานีทะเลสาบเมืองทองธานี 

โดยอัพเดทความก้าวหน้าล่าสุดของโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช – เมืองทองธานี เมื่อเดือนตุลาคม 2566 โดยด้านงานโยธามีความคืบหน้า ประมาณ 41.76% ส่วนงานระบบไฟฟ้า ประมาณ 23.34% เมื่อวิเคราะห์ความก้าวหน้ารวมกัน เกิน 35%  จึงคาดว่าส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีชมพูแล้วเสร็จ และสามารถให้เปิดบริการได้ภายในปี 2568