15°C New York
December 22, 2024
ชวนรู้จักดาวเทียมของไทย THEOS-2 ประโยชน์และหน้าที่คืออะไร
การเมือง ธุรกิจ บทความ ประชาสัมพันธ์

ชวนรู้จักดาวเทียมของไทย THEOS-2 ประโยชน์และหน้าที่คืออะไร

วันที่ 9 ตุลาคม 2566 ช่วงเวลา 08.36 น.ได้มีการนำส่งดาวเทียม THEOS-2 ขึ้นสู่อวกาศ และมีการถ่ายทอดสดจากสถานีควบคุมและรับสัญญาณดาวเทียม อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี จากท่าอวกาศยานยุโรปเฟรนช์เกียนา ทวีปอเมริกาใต้ หลังจากที่ได้มีการเลื่อนนำส่งเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม เพราะมีการพบ “เรดสเตตัส” ก่อนการปล่อย 14 วินาที ทางแอร์บัส ที่ท่ายานอวกาศยุโรป ซึ่งครบรอบ 15 ปี ที่เคยได้นำส่ง “ไทยโชต” (Thaichote) หรือ “ดาวเทียมธีออส” (THEOS-1) ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2551 เรามาทำความรู้จักและดูข้อมูลว่าดาวเทียมดวงใหม่ระดับปฏิบัติการ THEOS-2 ทำหน้าที่อะไรบ้าง ต่างจาก THEOS-1 หรือไม่ อย่างไร 

ดาวเทียม THEOS-2 คืออะไร 

THEOS-2 อ่านว่า ธีออส 2 โดยชื่อ THEOS ย่อมาจากคำว่า Thialand Earth Observation Satellite หมายถึง ระบบสำรวจพื้นผิวโลก โดยใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายจากประเทศไทย โดยคำว่า THEOS แปลว่า “พระเจ้า” ที่พ้องกับภาษากรีก 

THEOS-2 คือ ดาวเทียมระดับปฏิบัติการสำรวจโลกที่มีความละเอียดสูงมาก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งดาวเทียมสำรวจของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาและบริหารจัดการพื้นที่ประเทศไทยในอนาคต ซึ่งผลิตโดย บริษัท Airbus Defense ประเทศฝรั่งเศส และนับว่าเป็นดาวเทียมของประเทศไทย ดวงที่ 7 ที่มีการนำปล่อยโดย Arianespace บริษัทรับบริการปล่อยดาวเทียมสู่วงโคจรทุกรูปแบบ 

(ภาพประกอบจากเฟซบุ๊ก ศุภมาส อิศรภักดี และ GISTDA)

THEOS-2 มีหน้าที่ทำอะไร

ดาวเทียม THEOS-2 หรือ ดาวเทียมธีออส-2 ผลิตโดย เป็นดาวเทียมสำรวจโลกความละเอียดสูงมาก สามารถถ่ายภาพและผลิตภาพสีรายละเอียดที่สูงมาก ๆ พร้อมกับส่งข้อมูลกลับมายังสถานีภาคพื้นดินไม่ต่ำกว่า 74,000 ตร.กม. / วัน โดยจะทำการบันทึกภาพพื้นผิวโลก ทั้งในส่วนของประเทศไทยและพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลภูมิสารสนเทศให้ทันสมัย มีความละเอียด ช่วยแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม บรรเทาด้านภัยพิบัติ จัดการวางแผนผังเมือง บริหารจัดการพื้นที่การเกษตร และ ทรัพยากรธรรมชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ภารกิจของ THEOS-2 คือ การเก็บข้อมูลโดยการถ่ายภาพพื้นผิวโลกของเราเสริมส่งกับดาวเทียมไทยโชตหรือ THEOS-1 ที่ส่งขึ้นไปเมื่อปีพ.ศ. 2551 และ THEOS-2 นับว่าเป็นดาวเทียมของประเทศไทย ดวงที่ 7 ที่ทำการปล่อยโดย Arianespace ซึ่งเป็นบริษัทรับบริการปล่อยดาวเทียมสู่วงโคจรทุกรูปแบบ ซึ่งจะทำการนำส่ง THEOS-2 สู่วงโคจรอวกาศที่มีชื่อว่า “Vega” ด้วยระบบ Rideshare คือ การนำส่งดาวเทียมระดับปฏิบัติการ ซึ่งมีภารกิจอื่น ๆ อีก 12 ภารกิจ ซึ่งจะนำขึ้นไปวงโคจรสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ Sun Synchronous Orbit : SSO) โดยมีลักษณะการโคจรผ่านขั้วโลกในตำแหน่งเดิมเสมอ ส่งผลให้ดาวเทียมสามารถโคจรผ่านตำแหน่งเดิมในเวลาท้องถิ่นเดิมได้ตลอด ช่วยให้เก็บข้อมูลได้อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง 

(ภาพประกอบจากเฟซบุ๊ก ศุภมาส อิศรภักดี และ GISTDA)

THEOS-2 เหมือนหรือต่างจาก THEOS-1

THEOS-1 หรือ ดาวเทียมไทยโชต คือ ดาวเทียมรายละเอียดสูงที่ถูกส่งขึ้นไปปฏิบัติหน้าที่บนห้วงอวกาศ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 จากฐานปล่อยจรวด ณ เมืองยาสนี ประเทศรัสเซีย โดยมี “เนปเปอร์” เป็นจรวดนำส่ง ซึ่งเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่ได้มีการนำส่งดาวเทียมชนิดนี้ หน้าที่ของ THEOS-1 คือ เก็บข้อมูลภาพถ่ายร่วมกับดาวเทียมดวงอื่น ๆ จากทั่วโลก หลังจากที่ถูกใช้งานมาแล้วจนครบ 15 ปี จึงได้มีการจัดส่ง THEOS-2 ที่ถูกออกแบบให้สามารถใช้งานได้นานเป็นเวลา 10 ปี หรือจนถึงปี 2576 เพื่อขึ้นไปรับช่วงต่อไทยโชต แต่อาจใช้งานได้นานเท่ากับหรือได้นานกว่าไทยโชต เนื่องจากเทคโนโลยีการออกแบบจากทีมวิศวกร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างและพัฒนาดาวเทียมจากบริษัท Airbus Defense ณ ประเทศฝรั่งเศส